ค้นหาบล็อกนี้

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ blog นี้??

วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

... " ตัวต้านทานไฟฟ้า

..."ตัวต้านทานไฟฟ้า ( Resistor )"...

...."ตัวต้านทานไฟฟ้า" คือ อุปกรณ์ที่นักวิทยาศาสตร์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อต่อร่วมกับวงจรเพื่อบังคับให้กระแสไฟฟ้าในวงจรเปลี่ยนแปลงตามต้องการ ทำจากวัสดุที่ปล่อยให้อิเล็กตรอนหลุดจากตัวมันได้น้อย ตัวต้านทานไฟฟ้ามีหน่วยเป็น โอห์ม ( Ohm ) ซึ่งเป็นนามของ George Simon Ohm

ตัวต้านทานหรือ รีซีสเตอร์ มีการผลิตออกมาหลายแบบหลักการต่อไปนี้คือนำเอาค่าความต้านทานเป็นหลักสามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ คือ

1. แบ่งตามลักษณะการใช้งาน

1. ชนิดค่าคงที่ ( Fixed Resistor ) เป็นตัวต้านทานที่มีความต้านทานคงที่ โดยจะกำหนดค่าความต้านทานเป็นรหัส เช่น ตัวเลขโค๊ตสี จะพบเห็นได้ในวงจรทั่วไ

ตัวต้านทานชนิดคงที่

2. ชนิดปรับค่าได้ (Adjustable Rersistor) หรือรีซีสเตอร์แบบ (Tap Resistor) เป็นตัวต้านทานที่ใช้กับงานที่มีกำลังวัตต์สูงๆ และงานที่ต้องการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานอยู่บ่อยๆสามารถเลือกค่าได้ค่านึ่ง โดยปกติจะมี 1 ขั้ว หรือมากกว่านั้นแยกออกมาเพื่อเลือกนำไปใช้งานเพื่อให้การทำงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์

3. ชนิดเปลี่ยนแปลงค่าได้ (Variable Resistor) เป็นตัวต้านทานที่สามารถปรับค่าความต้านทานได้อย่างต่อเนื่องในช่วงค่าความต้านทานที่กำหนดไว้ จะใช้ในงานที่ต้องการปรับค่าความต้านทานบ่อยๆ ตัวต้านทานชนิดนี้จะมีหน้าคอนแท็คสำหรับใช้ในการหมุนเลื่อนหน้าคอนแท็ค

แสดงภาพตัวต้านทานแบบเปลี่ยนแปลงค่าได้

ในการปรับค่าความต้านทานโดยมีแกนยื่นออกมาเพื่อใช้สำหรับหมุนปรับค่า อย่างเช่น วอลุ่มเร่งเสียงแบบธรรมดา หรือ แบบสไลด์ อีกแบบหนึ่งไม่มีแกนหมุนเราเรียกกันว่า วอลุ่มเกือกม้า หรือ Trimpot วาริเอเบิ้ลรีซีสเตอร์ อาจจะทำมาจาก คาร์บอน เซอร์เมท (เซรามิกผสมเงิน) หรือพลาสติกตัวนำ ตัวต้านทานชนิดนี้จะแบ่งเป็น 2 ชนิด คื

1. โพเทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer) ตัวต้านทานชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมีหน้าสัมผัสเป็นแบบถ่าน (carbon) ดังนั้นจะใช้กับงานที่มีกระแสน้อยๆ เช่น เป็นตัวควบคุมระดับความดังของเสีย

แสดงการต่อใช้งานของตัวต้านทานปรับค่าได้ แบบ Potentiometer

2.รีโอสตัส (Reostat) ตัวต้านทานชนิดนี้จะมีหน้าสัมผัสเป็นแบบลวดพัน ดังนั้น จึงใช้กับงานที่มีกระแสมากๆ เช่น ใช้ปรับกระแส หรือแรงดันในเครื่องแหล่งจ่ายไฟ
แสดงการต่อตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้แบบรีโอสตั

2. ชนิดพิเศษ (Special Resistor) เป็นตัวต้านทานที่มีลักษณะพิเศษสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือเปลี่ยนตามอุณหภูมิ (Thermistor) ตัวต้านทานชนิดนี้ค่าความต้านทานจะเปลี่ยนแปลงไป ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับชดเชยการเปลี่ยนแปลงต่ออุณหภูมิ ของวงจร หรือ ใช้เป็นตัวเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า


สัญลักษณ์ตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนค่าได้ตามอุณหภูมิ

เปลี่ยนตามความสว่าง (Light Dependent Resistor –LDR) ตัวต้านทานชนิดนี้ เป็นตัวต้านทานที่ไวต่อแสง โดยค่าความต้านทานจะลดลง เมื่อความเข้มของแสงที่ตกกระทบมีค่ามากส่วนใหญ่จะใช้เป็นตัวเปลี่ยนแปลงความเข้มของแสงให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า

แสดงสัญลักษณ์ของตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนแปลงค่าตามความเข้มของแสง

2. แบ่งตามวัสดุที่ใช้ทำ

1. แบบถ่าน (Carbon Composition Resistor) ตัวต้านทานชนิดนี้ทำมาจากผงคาร์บอน โดยนำมาอัดให้เป็นแท่งแล้วหุ้มตัวถังด้วยฉนวน โดยปกติจะมีค่าความต้านทานตั้งแต่ค่าต่ำๆ จนถึงค่า 20MW และมีค่าทนกำลังงานขนาด 1/8,1/4,1/2 , 1 และ 2 วัตต์ ตัวต้านทานแบบนี้ถ้ากำลังวัตต์ต่ำตัวต้านทานจะมีขนาดเล็กและถ้ากำลังวัตต์มากตัวต้านทานก็จะมีขนาดใหญ่

ตัวต้านทานชนิดนี้ทำมาจากผงคาร์บอน

2.แบบลวดพัน (Wire Wound Resistor) แบบลวดพันนี้จะพบมากในตัวต้านทานชนิดค่าคงที่ ซึ่งเป็นส่วนผสมจาก นิกเกิล-โครเมียม (Nikel – Cromium) หรือส่วนผสมจากทองแดง - นิกเกิล(Copper-Nikel) ลวดนี้จะพันรอบแกนฉนวนที่ทำจากเซรามิค แล้วเคลือบด้วยฉนวนอีกทีหนึ่ง ตัวต้านทานชนิดนี้ จะใช้ความยาวของขดลวด และค่าความต้านทานจำเพาะเป็นตัวกำหนดค่าความต้านทาน โดยจะมีค่าตั้งแต่เศษส่วนของโอห์มจนถึงหลายพันโอห์ม และมีกำลังตั้งแต่ 3 วัตต์ จนถึงหลายพันวัตต์ ดังนั้นส่วนใหญ่จะพบมากในตัวต้านทานชนิดเลือกค่าได้ และจะใช้งานในงานที่มีกระแสสูงๆ และทนกำลังงานได้สูง

แบบลวดพัน

3. แบบฟิล์ม (Film Type Resistor) ตัวต้านทานชนิดนี้จะทำจากฟิล์มบางๆ ของแก้วและโลหะหลอมเข้าด้วยกัน แล้วนำไปเคลือบแกนที่ทำมาจากผลึกของเซรามิค และให้ค่าความต้านทานอยู่ในช่วงเดียวกับตัวต้านทานแบบถ่าน จะเห็นได้ว่า คุณสมบัติความหนาของฟิล์มบางๆ ที่เป็นสิ่งที่ควบคุมได้ง่าย ดังนั้น ค่าความต้านทานที่ได้จึงมีค่าแน่นอนมาก ไม่เหมือนกับแบบถ่าน เพราะจะควบคุมที่ส่วนผสมของถ่านคาร์บอนจึงทำให้ค่าความต้านทานไม่แน่นอน ดังนั้น ตัวต้านทานชนิดฟิล์มนี้จึงมีเปอร์เซนต์ความผิดพลาดต่ำซึ่งจะนำไปใช้งานทางเครื่องมีอวัดทางไฟฟ้าต่างๆ

ตัวต้านทานทำจากฟิล์ม