ค้นหาบล็อกนี้

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ blog นี้??

วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

..." วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม และ แบบขนาน

... " วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม " ...


วงจรอนุกรม

เป็นการนำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดหลายๆ อันมาต่อเรียงกันไปเหมือนลูกโซ่ กล่าวคือ ปลายของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 1 นำไปต่อกับต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 2 และต่อเรียงกันไปเรื่อยๆ จนหมด แล้วนำไปต่อเข้ากับแหล่งกำเนิด การต่อวงจรแบบอนุกรมจะมีทางเดินของกระแสไฟฟ้าได้ทางเดียวเท่านั้น ถ้าเกิดเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งเปิดวงจรหรือขาด จะทำให้วงจรทั้งหมดไม่ทำงาน

คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรอนุกรม

1. กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเท่ากันและมีทิศทางเดียวกันตลอดทั้งวงจร

2. ความต้านทานรวมของวงจรจะมีค่าเท่ากับผลรวมของความต้านทานแต่ละตัวในวงจรรวมกัน

3. แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร เมื่อนำมารวมกันแล้วจะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด

การต่อวงจรไฟฟ้า

การต่อวงจรไฟฟ้าสามารถจำแนกตามการใช้งานได้ 2 แบบ คือ แบบอนุกรม และแบบขนาน

วงจรอนุกรม
วงจรอนุกรม คือวงจรที่ประกอบด้วยความต้านทานตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปต่อเรียงกัน โดยมีทางเดินของกระแสไฟฟ้าไหลผ่านทางเดียวไม่ได้แยกไหลไปส่วนอื่นของวงจร การต่อวงจรอนุกรมทำได้โดยนำขั้วต่อสายข้างหนึ่งของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 1 ไปต่อเข้ากับขั้วต่อของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 2 นำขั้วต่ออีกข้างหนึ่งของตัวที่ 2 ไปต่อเข้ากับขั้วต่อสายตัวที่ 3 ต่ออย่างนี้ไปเรื่อย ๆจนกว่าจะครบเสร็จแล้วนำขั้วต่อสายที่เหลือของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวสุดท้ายมาต่อเข้ากับปุ่มหนึ่งของแหล่งกำเนิด เราก็ได้วงจรครบเพื่อใช้งาน ดังรูป


รูปการต่อหลอดไฟแบบอนุกรม

การต่อวงจรอนุกรมจะใช้หลอดไฟฟ้าหรือความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้ามาต่อกันเข้าแบบอนุกรมแล้วต่อเข้ากับขั้วแหล่งกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือแบตเตอรี่ เพื่อให้เกิดการไหลของกระแสในทิศทางเดียว อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่อแบบอนุกรม เช่นวงจรจุดไส้หลอดวิทยุซึ่งเมื่อไส้หลอดใดหลอดหนึ่งดับ อุปกรณ์จะไม่ทำงาน และเตารีดไฟฟ้า ซึ่งมีฟิวส์ สวิตช์และ Thermostat ต่อกันแบบอนุกรม เป็นต้น


รูปการต่อความต้านทานแบบอนุกรม

วงจรขนาน

วงจรขนาน เป็นวงจรไฟฟ้าที่ต่อความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ แต่ละตัวคร่อมกับแหล่งกำเนิดของวงจร

รูปการต่อวงจรแบบขนาน


ทำให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้าหลายทาง ผลรวมของกระแสที่จ่ายออกไปจะเท่ากับผลรวมของกระแสที่ไหลในแต่ละส่วนของวงจรรวมกัน และแรงดันที่ตกคร่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกตัวจะเท่ากัน แม้ว่าอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นจะมีขนาดไม่เท่ากันก็ตาม


8 ความคิดเห็น:

  1. เป็นบทความที่ใช้ได้เลยครับ ขอบคุณครับ BANK ELECTRICON

    ตอบลบ
  2. สวดยอดเลยคับ สอบไปและไม่รุถูกป่าว ไม่แน่ใจลองมาหาข้อมูลดู (ขอบคุณครับ*,^)

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมบล็อกนะค่ะ

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณค่ะได้นำข้อมูลไปอ่านสอบ ^_^ เยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณค่ะได้นำข้อมูลไปอ่านสอบ ^_^ เยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ
  6. ขอบคุณค่ะได้นำข้อมูลไปอ่านสอบ ^_^ เยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ
  7. จะไปสอบเข้าเรียนเรยแวะมาอ่าน ขอบคุณสำหรับความรู้นะค้าบบบ

    ตอบลบ